แท้จริงแผนการของชัยฏอน (ซาตาน) นั้นอ่อนแอเสมอ
Powered by OrdaSoft!
No result.

แท้จริงแผนการของชัยฏอน (ซาตาน) นั้นอ่อนแอเสมอ

        ผู้ที่เชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ และดำเนินแผนงานต่างๆ ของตนไปตามคำสอนของคัมภีร์อัลกุรอานและการชี้นำของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ผู้บริสุทธิ์ของท่านนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาได้เชื่อมภูมิปัญญาของตนเข้ากับพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้างปัญญา และได้เชื่อมพลังอำนาจของตนเข้ากับพลังอำนาจที่ไร้ขอบเขตจำกัดและเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า และบุคคลเหล่านี้ ในสำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานจะเรียกพวกเขาว่า “ฮิซบุลลอฮ์” (พลพรรคของอัลลอฮ์) และคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับพวกเขาว่า :

أَلا إِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْمُفْلِحُون

"พึงรู้เถิดว่า แท้จริงพลพรรคของอัลลอฮ์นั้น พวกเขาคือผู้ประสบความสำเร็จ”

[อัลกุรอานบทอัลมุญาดะละฮ์ โองการที่ 22]

        และในอีกโองการหนึ่งได้กล่าวว่า :

وَ مَنْ یَتَوَلَّ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ وَ الَّذینَ آمَنُوا فَإِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْغالِبُون‏؛

"และผู้ใดที่ยอมรับในอำนาจการปกครองของอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธา แน่นอนแท้จริงพลพรรคของอัลลอฮ์นั้นพวกเขาคือผู้ชนะ”

[อัลกุรอานบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 56]

ตรงข้ามกับฮิซบุลลอฮ์ (พลพรรคของอัลลอฮ์) พวกเขาคือใคร?

         ตรงข้ามกับความดีทั้งหลายก็คือความเลวทั้งหลาย และกลุ่มคนที่ยืนตรงข้ามกับฮิซบุลลอฮ์ (พลพรรคของอัลลอฮ์) ก็คือ “ฮิซบุชชัยฏอน” (พลพรรคของซาตาน)

         ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :

أَنَّكُمْ لَنْ تَعْرِفُوا الرُّشْدَ حَتَّى تَعْرِفُوا الَّذِی تَرَكَهُ

“แท้จริงพวกท่านจะไม่รู้จักทางที่เที่ยงตรงได้ จนกว่าพวกท่านจะรู้จักผู้ที่ละทิ้งออกไปจากมัน" [1]

         และเมื่อเรารู้จักฮิซบุลลอฮ์ (พลพรรคของอัลลอฮ์) ดังนั้นฮิซบุชชัยฏอน (พลพรรคของซาตาน) ก็คือผู้ที่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาเป็นศัตรูและเป็นผู้ต่อต้านฮิซบุลลอฮ์ (พลพรรคของอัลลอฮ์) บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ปฏิบัติตามชัยฏอน (ซาตาน) ในคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงพวกเขาในนาม  «أَوْلِيَاء الشَّيْطَانِ» (หมู่มิตรของซาตาน) [2] และ «حِزْبُ الشَّيْطَانِ» (พลพรรคของซาตาน) [3] และ «أَعْدَاء اللَّهِ» (เหล่าศัตรูของอัลลอฮ์) [4] 

ลักษณะหมู่มิตรและผู้ปฏิบัติตามชัยฏอน (ซาตาน)

          ในสำนวนสุภาษิตกล่าวไว้ว่า :

قل من صديقك اقولك من انت

“จงบอกมาเถิดว่า เพื่อนของคุณเป็นใคร แล้วฉันจะบอกว่าคุณเป็นใคร!"

         หมายความว่า จากหมู่มิตรของแต่ละบุคคลนั้น เราสามารถที่จะรู้จักบุคคลผู้นั้นได้ บรรดาหมู่มิตรและไพร่พลของชัยฏอน (ซาตาน) ก็จะหล่อหลอมและถ่ายทอดเอาลักษณะของชัยฏอน (ซาตาน) มาไว้ในตัวเอง และชัยฏอน (ซาตาน) นั้นได้ถูกแนะนำไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานด้วยลักษณะบางอย่างดังต่อไปนี้คือ

1.ชัยฏอน (ซาตาน) จะขู่บรรดาผู้หมู่มิตรและที่ปฏิบัติตามมัน ให้หวั่นกลัวด้วยถ้อยคำต่างๆ ที่ไร้แก่นสาร [อัลกุรอานบทอาลุอิมรอน โองการที่ 175]

2.มันเป็นเพื่อนคู่หูที่เลว [อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 38]

3.มันจะล่อลวงมนุษย์ให้หลงผิด [อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 119]

4.แผนของมันนั้นอ่อนแอ [อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 76]

5.จะให้คำมั่นสัญญาที่หลอกลวง [อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 120]

6.เป็นศัตรูของมนุษย์อย่างชัดเจน [อัลกุรอานบทอันอิสรออ์ โองการที่ 53]

7.จะใช้ให้มนุษย์กระทำสิ่งที่ลามกอนาจารและความชั่วร้าย [อัลกุรอานบทอันนูร โองการที่ 21]

8.จะทำให้มนุษย์ไร้เกียรติ [อัลกุรอานบทอัลฟุรกอน โองการที่ 29]

8.พลพรรคของชัยฏอนนั้นเป็นผู้ขาดทุน [อัลกุรอานบทอัลมุญาดะละฮ์ โองการที่ 19]

9.สองตัวอย่างของ “ฮิซบุลลอฮ์” และ “ฮิซบุชชัยฏอน”

           จากการรู้จักลักษณะต่างๆ ของฮิซบุลลอฮ์ (พลพรรคของอัลลอฮ์) และฮิซบุชชัยฏอน (พลพรรคของซาตาน) แล้วนั้น เราสามารถจัดได้ว่าสาธารณรัฐอิสลามคือตัวอย่างของฮิซบุลลอฮ์ สหรัฐอเมริกาและหมู่มิตรของมันก็คือตัวอย่างของฮิซบุชชัยฏอน ทั้งนี้เนื่องจากว่าสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเป็นประเทศที่วางรากฐานอยู่บนความศรัทธาและการยอมตนเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง และปฏิบัติตามการชี้นำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ผู้บริสุทธิ์ของท่าน และการยึดมั่นใน “วิลายะตุ้ลฟะกีฮ์” (อำนาจการปกครองของปราชญ์แห่งศาสนา) ซึ่งเป็นผู้สืบสาน “วิลายะฮ์” (อำนาจการปกครอง) ของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์ และสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านนั้นพยายามที่จะใช้พลังความสามารถทั้งหมดของตนเพื่อธำรงความยุติธรรมและการต่อสู้กับการกดขี่และบรรดาผู้กดขี่ที่มีต่อประชาชนของตนและประเทศอื่นๆ แต่ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาคิดแต่เพียงผลประโยชน์ของตนเองเพียงเท่านั้น และเพื่อสนองตอบผลประโยชน์ดังกล่าวเขาไม่เคยลังเลใจใดๆ ที่จะกระทำการกดขี่ปวงบ่าวคนอื่นๆ ของพระผู้เป็นเจ้า

ศัตรูไม่อาจแทรกซึมเข้าไปมีอิทธิพลในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้

           สืบเนื่องจากการบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นระหว่างอิหร่านกับประเทศอื่นๆ หลายประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งภัยคุกคามต่างๆ กำลังพุ่งเป้ามาที่อิหร่าน และประเด็นนี้ได้ถูกอธิบายในคำพูดของท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และท่านได้ย้ำเตือนประชาชนชาวอิหร่านให้ตระหนักถึงภัยคุกคามจากอิทธิพลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่จะมีต่อประเทศอิหร่าน [5] แต่ประชาชนมุสลิมผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) ของอิหร่าน ต่างก็ตระหนักดียิ่งในสามประการคือ

        คำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า :

الْحَذَرَ كُلَّ الْحَذَرِ مِنْ عَدُوِّكَ بَعْدَ صُلْحِهِ فَإِنَّ الْعَدُوَّ رُبَّمَا قَارَبَ لِیَتَغَفَّلَ فَخُذْ بِالْحَزْمِ وَ اتَّهِمْ فِی ذَلِكَ حُسْنَ الظَّنِّ

 "จงระวังอย่างยิ่งยวดจากศัตรูของเจ้าหลังจากการประนีประนอมของเขา เพราะแท้จริงแล้วบางที่ศัตรูได้แสดงความใกล้ชิดเพื่อรอเวลาเผลอ ดังนั้นจงยึดแนวทางที่ก่อให้เกิดความแน่ใจ และจงตั้งข้อสงสัยต่อเจตนาดีในสิ่งนั้น" [6]

        พจนารถของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

إِنَّ كَيْدَ الشَّيْطانِ كانَ ضَعيفا

    “แท้จริงแผนการของชัยฏอน (ซาตาน) นั้นอ่อนแอเสมอ” 

[อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 76]

        และนอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า :

لِلَّهِ الْعِزَّةُ وَ لِرَسُولِهِ وَ لِلْمُؤْمِنین

    "และอำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮ์และของศาสนทูตของพระองค์ และเป็นของบรรดาผู้ศรัทธาเพียงเท่านั้น”

[อัลกุรอานบทอัลมุนาฟิกูน โองการที่ 8]

        คำว่า "อะซีซ" หมายถึง ผู้มีอำนาจที่จะไม่ถูกพิชิต [7] และคำว่า "อิซซะฮ์" (อำนาจ) หมายถึงสภาพอย่างหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์เป็นผู้ทนทานและไม่ปราชัย [8]

        คำพูดของท่านผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ที่กล่าวว่า “ด้วยกับพลังความสามารถทั้งหมดของเรานี้ เราจะไม่ปล่อยให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและการปรากฏตัวทางการเมืองในอิหร่าน" [9]


เชิงอรรถ :

[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ธรรมเทศนาที่ 147

[2] อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 76

[3] อัลกุรอานบทอัลมุญาดะละฮ์ โองการที่ 19

[4] อัลกุรอานบทฟุศศิลัต โองการที่ 28

[5] .http: //www.farsnews.com/newstext.php Nn = 13940604000719

[6] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, จดหมายที่ 53

 [7] กอมูซ กุรอาน, เล่มที่ 4, หน้าที่ 340

[8] อัลมุฟรอดาต, รอฆิบ อิศฟาฮานี, เล่มที่ 1, หน้าที่ 563

[9] http://www.leader.ir/langs/fa/index.php?p=contentShow&id=13481


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอืม ประดับญาติ

Copyright © 2017 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้อิสลามสำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 838 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10485967
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
9155
55742
9155
9979155
292147
2045354
10485967

อ 05 พ.ค. 2024 :: 03:55:24