อิมามอะลี (อ.) ในมุมมองของนักปราชญ์ตะวันตก
Powered by OrdaSoft!
No result.
อิมามอะลี (อ.) ในมุมมองของนักปราชญ์ตะวันตก

เพียงแค่คำสั่งเสียบางส่วนที่ผมได้เล่าให้นักศึกษาคนนั้นฟัง ผมสังเกตเห็นน้ำตาของเธอหลั่งไหลออกมาในขณะที่เธอกำลังรับฟังคำสั่งเสียต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง นักศึกษาคนนั้นจึงเข้าใจว่าเหตุใดผมจึงประทับใจในบุรุษที่ชื่อ อะลี

     อิมามอะลีคือ มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอิสลาม แม้แต่นักปรัชญาทั้งตะวันออกและตะวันตกต่างก็ยอมรับบุคคลิกภาพของท่าน

     โรเจอร์ กาโรดี" นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส พูดถึงความทรงจำเกี่ยวกับความรักผูกพันของเขาที่มีต่อท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า “ท่านอะลี (อ.) เป็นบุคคลที่ไม่มีใครเหมือน ที่ในตลอดช่วงแห่งเวลาประวัติศาสตร์ไม่มีใครเทียบเคียงท่านได้”

     "โรเจอร์ กาโรดี" (Roger Garaudy) นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส หลังจากศึกษาค้นคว้าศาสนาต่างๆ จึงได้ตัดสินใจเข้ารับศาสนาอิสลามในปี ค.ศ. 1982 และได้ตั้งชื่ออิสลามของตนว่า "ฮาจญ์มุฮัมมัด ร่อญาอ์" และจากการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องทำให้เขาค้นพบการกุเรื่องเท็จเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) โดยชาวไซโอนิสต์ และได้เปิดโปงโฉมหน้าที่แท้จริงของเรื่องเท็จแห่งประวัติศาสตร์นี้   

    ศาสตราจารย์โรเช่ การูดี (Roger Garaudy, 1913-2012) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เล่าถึงประสบการณ์การสอนของเขาในครั้งหนึ่งว่า:

    วันหนึ่งในขณะที่ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนอันเลื่องชื่อของฝรั่งเศส มีนักศึกษามาถามผมว่า ‘ท่านเป็นอาจารย์คนหนึ่งที่ดิฉันพยายามติดตามงานเขียนและร่วมฟังบรรยายของท่านอยู่ตลอดเวลา มีสิ่งหนึ่งที่ดิฉันสังเกตคือ ท่านมักจะพูดถึงชื่อของบุคคลสำคัญของมุสลิมที่ชื่อ "อะลี" ใครคืออะลี แล้วทำไมเขาถึงสร้างความประทับใจให้ท่านได้ถึงขนาดนี้’ ผมบอกเธอไปว่า อะลี เป็นลูกพี่ลูกน้องของศาสดาแห่งอิสลาม และเป็นสามีของบุตรีของท่าน อีกทั้งยังเป็นแม่ทัพและเป็นบุคคลสำคัญอันดับสองในอิสลามหลังจากมุฮัมมัด และเป็นตัวแทนของท่าน ฉะนั้น อะลีจึงเป็นบุคคลสำคัญที่หาที่ไม่มีใครเสมอเหมือน

    ผมขอถามคุณสักนิด เพื่อที่คุณจะได้เข้าถึงถึงสถานภาพ หรือส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ จากบุคคลสำคัญท่านนี้ หากว่าคุณข้ามถนนแล้วมีรถมาชน จะเกิดอะไรขึ้น เธอตอบว่า ‘ดิฉันก็ต้องตายหรือไม่ก็หมดสติไป’ ผมกล่าวต่อไปว่า ดี แล้วหากว่าคุณตกลงมาจากตึกชั้นสี่ล่ะ เธอก็ตอบด้วยคำตอบเดิม คือ หากไม่ตายก็คงหมดสติ ผมจึงกล่าวต่อว่า บุรุษผู้นี้ถูกฟันด้วยดาบในขณะที่ท่านกำลังก้มกราบพระผู้เป็นเจ้าในขณะที่ทำการนมัสการ ซึ่งบาดแผลของท่านลึกลงไปจนถึงส่วนในของกะโหลกศีรษะ กล่าวคือ บาดแผลมันลึกลงไปจนถึงสมอง แล้วคุณคิดว่าท่านจะมีสภาพอย่างไร เธอตอบว่า ‘เขาจะต้องตายในทันใดหรือไม่อย่างดีก็สิ้นสติ’ ผมจึงบอกเธอว่า ลองคิดดู บุรุษท่านนี้มิได้เสียชีวิตในทันใด อีกทั้งยังไม่เสียสติสัมปชัญญะ ทั้ง ๆ ที่ดาบฟันลงไปถึงสมองของท่าน สมองที่เก็บรักษาวิทยปัญญาและคลังความรู้ โดยที่ท่านไม่เสียสติหรือประสบกับสภาพที่ผู้คนทั่ว ๆ ไปต้องประสบ และหลังจากที่ถูกฟันเพียงวันเดียวท่านก็กล่าวคำสั่งเสียแก่หะซัน บุตรคนโตของท่าน ทั้ง ๆ ที่ท่านนอนป่วยอยู่บนเตียงในสภาพที่ใกล้ตายด้วยบาดแผลที่ลึกลงไปถึงด้านในของสมอง คำสั่งเสียของท่านในวันนั้นถือได้ว่าเป็นคำสั่งเสียที่ดีที่สุดที่มรดกทางปัญญาของมนุษย์ได้รับรู้มาในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นคำสั่งเสียที่รวบรวมไว้ซึ่งวิทยปัญญา คำสอน และความเมตตา ท่านบันทึกคำสั่งเสียที่งดงามนั้นด้วยสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ ในฐานะของบิดาคนหนึ่งที่ทำการสั่งเสียบุตรของเขา ท่านกล่าวกับหะซัน บุตรของท่านว่า

    "โอ้ลูกเอ๋ย จงปฏิบัติอย่างนิ่มนวลต่อเชลยของเธอ (ฆาตรกร) จงแสดงความเมตตาต่อเขา ปฏิบัติดีต่อเขา และแสดงความกรุณาต่อเขา ด้วยสิทธิที่พ่อมีต่อเธอ โอ้ลูกเอ๋ย จงมอบอาหารให้แก่เขาจากอาหารที่เธอกิน จงมอบน้ำที่เธอดื่มให้เขาดับกระหาย และจงอย่าพันธนาการมือและเท้าของเขาด้วยโซ่ตรวน และหากว่าพ่อตายไปก็จงลงโทษเขาด้วยการฟันเพียงครั้งเดียว (เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม) แต่จงอย่าเผาเขาด้วยไฟ และอย่าทำลายศพของเขา เพราะพ่อเคยได้ยินท่านตาของเธอ ศาสนทูตแห่งพระเจ้า กล่าวว่า พวกท่านจงอย่าทำลายศพ ถึงแม้ว่าจะเป็นศพของสุนัขที่ดุร้าย แต่หากพ่อรอดชีวิตพ่อก็มีสิทธิที่สุดที่จะอภัยให้แก่เขา และพ่อนั้นรู้ดีในสิ่งที่พ่อกระทำ พ่อขอสั่งเสียเธอทั้งสอง (หะซันและหุเซน) ให้ยึดมั่นในการยำเกรงต่อพระเจ้า และจงอย่าถวิลหาโลกใบนี้ถึงแม้ว่ามันจะถวิลหาเธอทั้งสอง และจงอย่าโศกเศร้าเสียใจในสิ่งที่เธอสูญเสียไปในมัน จงกล่าวในสิ่งที่เป็นสัจธรรมและจงปฏิบัติเพื่อผลตอบแทน (จากพระเจ้า) จงเป็นศัตรูต่อผู้อธรรมและจงเป็นผู้ให้การช่วยเหลือต่อผู้ถูกกดขี่..."

    การูดีกล่าวต่อไปว่า

    "เพียงแค่คำสั่งเสียบางส่วนที่ผมได้เล่าให้นักศึกษาคนนั้นฟัง ผมสังเกตเห็นน้ำตาของเธอไหลหลั่งออกมาในขณะที่เธอกำลังรับฟังคำสั่งเสียต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง นักศึกษาคนนั้นจึงเข้าใจว่าเหตุใดผมจึงประทับใจในบุรุษที่ชื่ออะลี”


บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 672 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

9982229
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3074
59299
3074
9524455
1833763
2060970
9982229

อ 28 เม.ย. 2024 :: 01:03:18