อัลกุรอาน-ฮะดิษ

อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ

ความศรัทธาที่ทรงคุณค่าในทัศนะคัมภีร์อัลกุรอาน  บางครั้งเราจะเห็นเมื่อเรานำโปสเตอร์หรือรูปภาพมาแปะติดกับฝาผนังโดยใช้กระดาษกาวที่คุณภาพไม่ดี ภายหลังจากที่อากาศร้อนหรือแดดส่องมา กาวนั้นก็จะพองตัวและละลาย จนในที่สุดรูปภาพก็จะร่วงหล่นลง ความศรัทธา (อีหม่าน) ของเราก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ หากความศรัทธา (อีหม่าน) ของเราเป็นความศรัทธาที่หย่อนยาน อ่อนแอและไร้ความมั่นคง ก็จะกลายเป็นสาเหตุที่ความศรัทธาจะลดน้อยลง…

อันตรายจากความเผอเรอและลักษณะที่เลวร้ายจากมัน ในคำพูดของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.)  ลักษณะที่เลวร้ายของ "ความเผอเรอ” หรือ “ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทำ" (ฆ็อฟละฮ์) เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ "ความเอาใจใส่" และ "การไตร่ตรอง"  ในมุมมองทางด้านจริยธรรม "ความเอาใจใส่และการไตร่ตรอง" ยิ่งมีระดับที่สูงมากเพียงใด ก็จะนำไปสู่การพัฒนาและความสมบูรญ์ของมนุษย์

ปรัชญาของฮัจญ์และอุมเราะฮ์  การปรากฏตัวของผู้บำเพ็ญฮัจญ์และอุมเราะฮ์เคียงข้างกะอ์บะฮ์ เป็นภาพสำแดงหนึ่งของการปรากฏตัวของบรรดามุวะห์ฮิดีน (ผู้ศรัทธามั่นในพระเจ้าองค์เดียว) ในดารุสสะลาม (ที่พำนักอันสันติสุข) ในสวรรค์ ทุก ๆ การอิบาดะฮ์จะมีคุณลักษณะพิเศษต่าง ๆ อันเป็นเฉพาะที่จะช่วยทำให้มนุษย์เข้าสู่เส้นทางสู่ความสมบูรณ์ (กะมาล) และความใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้า

ซาตาน มนุษย์ และ "สุนัขในคราบมนุษย์" ในช่วงเวลาก่อนการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี (อ.)  ในถ้อยคำหรือสำนวนต่าง ๆ ทางด้านอนาคตศาสตร์และคำพยากรณ์เกี่ยวกับมะฮ์ดะวียะฮ์ (เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโลกยุคสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี-อ.) สภาพเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ในโลกก่อนการปรากฏตัวของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) นั้น ได้รับการบรรยายไว้ในลักษณะที่เมื่อใครก็ตามได้อ่านและเห็นมัน ความหวาดกลัวจะเข้าครอบงำทั่วการดำรงอยู่ของเขา

ดุอาอ์ อัล เฆาะรีก เพื่อขอให้ศาสนามั่นคงอยู่ในหัวใจของเรา  ดุอาอ์ “อัล เฆาะรีก” (الْغَرِیْق) เป็นบทดุอาอ์ที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้สอนแก่ อับดุลลอฮ์ บิน ซะนาน เพื่อขอให้พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้ศาสนามั่นคงอยู่ในหัวใจของเราในยุคแห่งการเร้นกาย (ฆ็อยบะฮ์) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) 

แท้จริงแผนการของชัยฏอน (ซาตาน) นั้น อ่อนแอเสมอ  ผู้ที่เชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ และดำเนินแผนงานต่างๆ ของตนไปตามคำสอนของคัมภีร์อัลกุรอานและการชี้นำของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ผู้บริสุทธิ์ของท่านนั้น แท้จริงแล้วพวกเขาได้เชื่อมภูมิปัญญาของตนเข้ากับพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้างปัญญา และได้เชื่อมพลังอำนาจของตนเข้ากับพลังอำนาจที่ไร้ขอบเขตจำกัดและเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

ความอิจฉาริษยา หนึ่งในรากเหง้าแห่งบาปและที่มาของการปฏิเสธ (กุฟร์)  หนึ่งในลักษณะที่ชั่วร้ายทางศีลธรรมที่ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้ส่งผลกระทบที่เลวร้ายอย่างมากทั้งต่อบุคคลและสังคม นั่นก็คือความอิจฉา “ความอิจฉา” หมายถึง “ความไม่พอใจต่อเนี๊ยะอ์มัต (ความดีงามและความโปรดปราน) ต่าง ๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานให้แก่ผู้อื่น และปรารถนาที่จะให้สิ่งเหล่านั้นสิ้นสลายไปจากพวกเขา กระทั่งว่าบางครั้งถึงกับพยายามในการทำลายสิ่งดังกล่าว”

มารยาทการถือศีลอด ในจริยวัตรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในจริยวัตรของบรรดาอิมามมะฮ์ซูม (อ.) ได้อธิบายไปแล้วว่า ปรัชญาของการถือศีลอดนั้นไม่ใช่แค่เพียงการงดเว้นจากการกินและการดื่มเพียงเท่านั้น ทว่าความมุ่งมั่นของคนเราต่อหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ของตนนั้นจำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายของคนเราก็จะต้องถือศีลอดเช่นเดียวกัน.....

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 261 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25978913
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3938
4909
27204
25915847
8847
157882
25978913

ศ 02 พ.ค. 2025 :: 21:21:49