สถานการณ์ความตึงเครียดของการต่อสู้ระหว่างกองทัพอินเดียและปากีสถานล่าสุดเกิดขึ้นล่าสุดในช่วงดึกของคืนวันอังคารที่ผ่านมา ด้วยการโจมตีด้วยขีปนาวุธของอินเดียไปยังดินแดนของปากีสถาน สงครามจะจำกัดอยู่แค่สองฝ่ายเท่านั้นหรือไม่?! หรือโลกกำลังจะก้าวสู่สำนวนคำรายงานที่ชี้ถึงความตายและการสังหารหมู่ครั้งใหญ่...
มีคำถามมากมายหลายประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างสองประเทศนี้ ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายถูก? และอิหร่านจะมีผลกระทบและมีจุดยืนอย่างไร? สงครามจะจำกัดอยู่แค่สองฝ่ายที่เห็นได้ชัดของสงครามปัจจุบันนี้เท่านั้นหรือไม่?! หรือโลกกำลังจะก้าวสู่สำนวนคำรายงานที่ชี้ถึงความตายและการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่เกิดจากสงครามและความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในช่วงไม่กี่ปีก่อนการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ?!
สิ่งที่ทราบกันดีว่า นับเป็นเวลายาวนานหลายปีมาแล้วที่ปากีสถานเป็นแหล่งให้ที่พักพิง ผลิตและส่งออกผู้ก่อการร้ายวะฮ์ฮาบีตักฟีรีและผู้ก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อสหภาพโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถาน ชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และด้วยเงินของซาอุดีอาระเบียและประเทศอื่น ๆ ในอ่าวเปอร์เซีย ได้รีบรุดในการฝึก การจัดเตรียมอุปกรณ์ อาวุธ และส่งผู้ก่อการร้ายข้ามชาติไปยังปากีสถาน และส่งพวกเขาไปยังอัฟกานิสถานเพื่อกดดันกองทัพโซเวียต
เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายและถอนตัวออกจากอัฟกานิสถาน บังเหียนของกลุ่มตักฟีรีส่วนใหญ่ก็ถูกปลดออกจากมือของรัฐบาลทหารปากีสถานและหน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตก และกลุ่มต่าง ๆ เช่น อัลกออิดะฮ์ กลุ่มตาลีบันบางส่วน กลุ่มไอซิสและอื่น ๆ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
โดยพื้นฐานแล้ว บรรดาผู้นำของปากีสถานทั้งหมด ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกกองทัพทุจริตของประเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตก และด้วยการรับสินบนจำนวนมหาศาล ทำให้ประเทศนี้กลายเป็นแหล่งหลบภัยของผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ
หน่วยข่าวกรองตะวันตก ประกอบด้วย CIA, MI6 และ Mossad ได้สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับอิหร่าน อินเดีย จีน รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ ด้วยการใช้ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้
การปรากฏตัวของกลุ่มก่อการร้ายตักฟีรี ได้แก่ ญัยชุลอัดล์, ขบวนการปลดปล่อยประชาชนชาวบาลูจ และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีการจัดตั้งขึ้นในดินแดนปากีสถาน โดยแต่ละกลุ่มได้รับการฝึกฝนและมีอาวุธด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน โดยผู้นำปากีสถานที่ทุจริตและเจ้าหน้าที่ทหาร และได้รับการฝึกและมียุทโธปกรณ์จากหน่วยข่าวกรองระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างน้อยหนึ่งหน่วยเพื่อต่อสู้กับหนึ่งประเทศหรือมากกว่าในภูมิภาค
ในขณะเดียวกัน อิหร่านก็ได้รับผลกระทบมากมายจากผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ ทั้งในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานและกำลังคน บรรดาชะฮีด (ผู้สละชีพ) จำนวนมากจากกองทัพ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน เจ้าหน้าที่รักษาชายแดน ตำรวจ หน่วยข่าวกรองที่ไม่เปิดเผยชื่อ และแม้แต่ประชาชนธรรมดาและชนพื้นเมืองในภูมิภาค ต่างต้องเสียชีวิตลงระหว่างความขัดแย้งกับบรรดาอาชญากร ผู้ค้ายาเสพติด กลุ่มก่อการตักฟีรี และกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตั้งแต่ช่วงหลายปีก่อนการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านจนถึงปัจจุบัน
รัฐบาลปากีสถานแม้ว่าจะมีการปรึกษาหารือกับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านหลายครั้งในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เต็มใจและไม่สามารถดำเนินการที่จริงจังต่อการดำเนินการต่าง ๆ ที่ชั่วร้ายของกลุ่มก่อการร้ายตักฟีรีและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ที่อยู่ตามชายแดนที่กระทำต่อสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้ เนื่องจากโครงสร้างทางทหารและความมั่นคงของประเทศมีการทุจริต
ทางด้านอินเดียก็เช่นกัน มีความร่วมมือมากมายกับกลุ่มชาวไซออนิสต์และชาวตะวันตกในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อให้บรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจ และโดยพื้นฐานแล้วอินเดียมีจุดยืนที่ต่อต้านอิสลามมากมาย
ในสงครามระเบียงเศรษฐกิจ ณ จุดหนึ่งบนเส้นทางตะวันออกถึงตะวันตกของโลก อินเดียตั้งใจจะเชื่อมต่อตะวันออกไกลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ผ่านท่าเรือมุมไบ และผ่านซาอุดีอาระเบียไปยังท่าเรือไอลัตของอิสราเอลและท่าเรือไฮฟาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และด้วยยุทธวิธีนี้ พวกเขาจะกำจัดอิหร่านออกจากเส้นทางขนส่งตะวันออกถึงตะวันตกของโลกไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม!
แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนอิสราเอลให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านพลังงาน สินค้า และบริการในภูมิภาค
นักลงทุนและนักธุรกิจชาวอินเดียได้ลงทุนอย่างมากในอิสราเอล (ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไฮฟา แต่เนื่องจากการปรากฏตัวของกลุ่มฮามาสและกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในภาคเหนือและภาคใต้ของพื้นที่ปศุสัตว์ของไซออนิสต์ พวกเขาจึงรู้สึกถูกคุกคามจากแนวรบของกลุ่มต่อต้านอยู่เสมอ
รัฐบาลอินเดียตกอยู่ใต้อิทธิพลจากนโยบายต่าง ๆ ของตะวันตกอย่างมาก เนื่องมาจากอิทธิพลที่กว้างขวางของกลุ่มไซออนิสต์ อเมริกัน และอังกฤษ รวมทั้งความร่วมมืออย่างกว้างขวางกับกลุ่มทุนชาวยิวและเอมิเรตส์
ชาวอินเดียได้ลงทุนอย่างกว้างขวางในท่าเรือไฮฟาและดินแดนที่ยึดครอง และหลังจากปฏิบัติการพายุอัลอักซอ อินเดียก็เป็นหนึ่งในรัฐบาลไม่กี่แห่งที่ยืนหยัดเคียงข้างอิสราเอลอย่างเต็มที่
อินเดียยังมีปฏิสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับรัสเซียและจีน เพื่อเชื่อมโยงน่านน้ำทางใต้ที่อบอุ่นกับน่านน้ำทางตอนเหนือที่หนาวเย็นและยุโรป ตามผลประโยชน์ทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงผลประโยชน์ร่วมกันในสภาความร่วมมือ BRICS และเศรษฐกิจเกิดใหม่ของโลก ความร่วมมือนี้รวมถึงการพัฒนาท่าเรือชาบาฮาร์ของอิหร่านและเส้นทางรถไฟและทางบกจากใต้ไปเหนือจากภายในอิหร่าน ซึ่งจะสร้างประโยชน์มากมายให้กับชาวอิหร่านในสงครามระเบียงเศรษฐกิจ
จากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้นำชาวปากีสถานบางส่วน ซึ่งได้รับการยุยงจากตะวันตก ไซออนิสต์ ซาอุดีอาระเบีย และเอมิเรตส์ ได้คัดค้านเรื่องนี้
ในทางกลับกัน แม้อิหร่านจะยับยั้งชั่งใจ แต่ปากีสถานไม่สามารถหรือไม่ต้องการที่จะควบคุมพื้นที่ชายแดนที่ติดกับตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก
แหล่งน้ำจืดส่วนใหญ่สำหรับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในปากีสถานมาจากเทือกเขาหิมาลัยในภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือกดดันจากอินเดียต่อปากีสถานมาโดยตลอด
ชาวปากีสถานมักสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชาวอินเดียอยู่เสมอด้วยการส่งผู้ก่อการร้าย เช่นที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่าน ความไม่มั่นคงทั้งหมดนี้และการเชื่อฟังของชาวปากีสถานต่อมหาอำนาจโลก ถือเป็นการรับใช้ผลประโยชน์ของมหาอำนาจโลก
ในบางสถานการณ์อเมริกา จีน รัสเซีย และรัฐบาลอื่น ๆ จะใช้ปากีสถานเป็นเครื่องมือเพื่อชะลอการเติบโตของอินเดีย
ในด้านหนึ่ง นับตั้งแต่อดีตนานมาแล้ว การแบ่งแยกอนุทวีปอินเดีย และการก่อตั้งประเทศในเอเชียกลางและเอเชียใต้ เนื่องมาจากความชั่วร้ายของอังกฤษ ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางระหว่างอินเดียและเพื่อนบ้านทั้งหมดของตน ได้แก่ บังกลาเทศ เนปาล จีน และปากีสถาน ในประเด็นดินแดนและภูมิภาคต่าง ๆ
อินเดียและปากีสถานยังมีข้อพิพาทที่ร้ายแรงในประเด็นดินแดนในแคชเมียร์ ซึ่งเกือบจะกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งสองมีหัวรบนิวเคลียร์และระเบิดนิวเคลียร์นับสิบลูก
สรุปแล้ว ทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่มีใครเป็นฝ่ายถูกทั้งหมด นอกเหนือจากจีนแล้ว ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ก็อยู่ข้างอินเดียด้วย แม้แต่รัสเซียเองก็ต้องการให้ปากีสถานได้รับลงโทษ (ดัดสันดาน) ที่จำเป็น เนื่องจากปากีสถานให้ความร่วมมืออย่างลับ ๆ กับตุรกีและยูเครน เพื่อต่อต้านผลประโยชน์ของรัสเซีย
จุดยืนของอิหร่านคือความเป็นกลาง และป้องกันไม่ให้เกิดสงครามแพร่กระจายในบริเวณพรมแดนของตนและผลต่าง ๆ ที่จะตามมา ผลที่น่าจะเป็นไปได้น้อยที่สุดจากความขัดแย้งครั้งนี้คือการที่ผู้ลี้ภัยชาวปากีสถานและแคชเมียร์ทั้งชาวชีอะฮ์และซุนนีจำนวนมากลี้ภัยเข้าสู่อิหร่าน
โดยรวมแล้วไม่มีฝ่ายใดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และแต่ละฝ่ายต่างก็อาจกลายเป็นพันธมิตรของอิหร่านหรืออยู่ในกลุ่มฝ่ายตรงข้ามของอิหร่านด้วยเหตุผลต่าง ๆ ! ในทางปฏิบัติ นโยบายของทั้งสองประเทศเป็นผลมาจากสถานการณ์โลก และสนามรบของทั้งสองประเทศก็เป็นเพียงสนามรบตัวแทนเท่านั้น แต่ละฝ่ายสามารถเป็นกองกำลังตัวแทนของอำนาจหนึ่งในการต่อสู้กับอีกอำนาจหนึ่งได้
ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) จากแหล่งข้อมูลของอิสลาม มีการกล่าวถึงความวุ่นวายทั่วโลกก่อนการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ด้วยสำนวนต่าง ๆ อย่างเช่น ไฟ (สงคราม) ในอาเซอร์ไบจาน (พื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนเหนือของอิหร่านไปจนถึงยุโรปตะวันออก) ฟิตนะฮ์ชาม (ความวุ่นวายในลิแวนต์) ฮัรญุรรูม (ความโกลาหลของตะวันตก หรือสงครามโลก) ความตายสีแดง ฯลฯ เป็นสำนวนที่ชี้ถึงความตายและการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่เกิดจากสงครามและความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในช่วงไม่กี่ปีก่อนการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี (อ.) นอกจากนี้ยังมีสำนวนประโยคที่ว่า :
وَخَرَابُ السِّنْدِ مِنَ الهِنْدِ، وَخَرَابُ الْهِنْدِ مِنَ الصِّينِ
"การถูกทำลายของสินธ์ (ปากีสถาน) จะเกิดจากอินเดีย และการถูกทำลายของอินเดียจะเกิดจากจีน"
(อัลนิฮายะฮ์ ฟิลฟิตัน วัลมะลาฮิม, อิบนิกะษีร, เล่ม 1, หน้า 80)
ก็เป็นอีกวลีหนึ่งที่ชี้ถึงสงครามต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียกลางและข้อพิพาทระหว่างปากีสถานกับอินเดีย และอินเดียกับจีน ซึ่งก็ยังคงต้องดูกันต่อไปว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในอนาคต
บทความ : เชคมูฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2018 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่