ครรลองจริยธรรม

ท่านอิมามอะลี (อ.) : จงระวังการเข้าใกล้ศัตรูของท่านเพื่อแสวงหาสันติภาพ  โองการต่าง ๆ ของอัลกุรอานและบรรดาริวายะฮ์ (คำรายงาน) ของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ชี้ให้เห็นว่า ชาวมุสลิมไม่ควรถอยออกจากจุดยืนที่แข็งแกร่งของตนภายใต้แรงกดดันของศัตรู เพราะการกระทำดังกล่าวจะทำให้ศัตรูมีความฮึกเหิมยิ่งขึ้นและทำให้แนวรบของตนเองอ่อนแอลง

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) แบบอย่างของการควบคุมความโกรธ  วันหนึ่งขณะที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) นั่งอยู่กับกลุ่มมิตรสหายและผู้ช่วยเหลือของท่าน ชายผู้หนึ่งได้เดินมายืนเบื้องหน้าท่าน และได้ใช้วาจาจาบจ้วง ด่าทอและประณามท่านอย่างรุนแรง ท่าน.....

ซอละวาตชะอ์บานียะฮ์ | นาวาแห่งความรอดพ้น  ในเนื้อหาส่วนหนึ่งของจากบท "ซอละวาตชะอ์บานียะฮ์" ของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้เปรียบอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) เสมือนดั่งนาวาแห่งความแห่งความรอดพ้นในท่ามกลางคลื่นที่โหมกระหน่ำ ผู้ใดยึดเกาะนาวานี้ไว้ เขาก็จะได้รับความรอดพ้น และผู้ใดที่ปลีกตัวออกจากนาวานี้ เขาก็จะจมน้ำตาย

พื้นฐานมานุษยวิทยา คือ ทฤษฎีทางการเมืองของท่านอิมามอะลี (อ.)   การแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และการปรากฏขึ้นของอิสลาม เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงอันลุ่มลึกในวัฒนธรรมและแนวคิด รวมถึงโครงสร้างทางสังคมของคาบสมุทรอาหรับ ผลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านแนวคิดนี้ คือการสิ้นสลายของโครงสร้างทางสังคมและการเมืองของยุคอนารยะ (ญาฮิลียะฮ์) และการล่มสลายของชนชั้นต่างๆ ทางสังคมในยุคนั้น

เดือน“รอญับ”อันทรงเกียรติ  ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "เดือนรอญับเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่เดือนหนึ่ง รอญับเป็นเดือนของอัลลอฮ์ (ซบ.) ชะอ์บานเป็นเดือนของฉัน รอมฎอนเป็นเดือนของประชาชาติ ใครก็ตามที่เขาถือศีลอดหนึ่งวันในเดือนรอญับ ก็เท่ากับเขาได้ทำความปลื้มปีติอย่างใหญ่หลวงแด่อัลลอฮ์ (ซบ.) พระองค์จะทำให้เขาพ้นจากไฟนรก ประตูนรกทุกบานจะถูกปิด"

การช่วยเหลือผู้ขัดสนในคำสอนของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.)  ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทหนึ่ง ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ได้ชี้ให้เห็นถึงสามสิ่งที่เป็นสิ่งที่รักมากที่สุดในชีวิตของท่าน โดยที่ท่านกล่าวว่า "สามสิ่งในโลกนี้เป็นสิ่งที่รักยิ่งสำหรับฉัน คือ : การอ่านอัลกุรอาน การมองดูใบหน้าของท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) การให้และช่วยเหลือผู้ขัดสนในวิถีทางของอัลลอฮ์

ความสำคัญของการทำงานในอัลกุรอานและริวายะฮ์ ; พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการตอบรับดุอาอ์  อิบาดะฮ์นั้นมีเจ็ดสิบส่วน แต่สิ่งที่น่าสนใจซึ่งตรงข้ามกับความคิดของคนส่วนมากที่ว่าก็คือ ไม่มีการนมัสการ (อิบาดะฮ์) ใดแม้แต่การนมาซ การถือศีลอด การทำฮัจญ์และอื่นๆ ทางด้านของคุณค่าและความประเสริฐ (ฟะฎีละฮ์) ที่จะเทียบเท่ากับการทำงานและความอุตสาห์พยายามในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ (ริษกี) ที่ฮะลาลและการสนองตอบความจำเป็นในการดำรงชีพของครอบครัวได้เลย

อิมามฮะซัน อัสการี (อ.) : เคล็ดลับการอบรมขัดเกลาลูก ๆ เพื่อความสำเร็จในอนาคต  หากผู้ปกครองปล่อยให้ลูกมีความกล้าหาญหรือเป็นอิสระมากเกินไป ปัญหานี้อาจส่งผลเสียต่อความสามารถของเขาในการยอมรับความรับผิดชอบและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ดังนั้น อิมาม ฮะซัน อัสการี (อ.) จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของขอบเขตและวินัยในการอบรมขัดเกลา (ตัรบียะฮ์) เด็ก ...

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 391 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25981436
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2094
4367
29727
25915847
11370
157882
25981436

ส 03 พ.ค. 2025 :: 09:55:26